ภาควิชาจักษุวิทยา
ประวัติความเป็นมา
ภาควิชาจักษุวิทยา กองการศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ได้ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าในปี พ.ศ. 2518 โดยมีอาจารย์หัวหน้าภาควิชาหรือผู้ทำหน้าที่อาจารย์ หัวหน้าภาควิชา หมุนเวียนมาดำรงตำแหน่งหลายท่าน
ในการดำเนินการของภาควิชาฯ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคาอาจารย์และกำลังพลของกองจักษุกรรมฯ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันภายใต้การบริหารงานของผู้อำนวยการกองจักษุกรรมฯ
ภารกิจด้านการเรียนการสอน
- จัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาจักษุวิทยา ในหลักสูตรคลินิกบูรณาการ นพท./นศพ. ชั้นปีที่ 4 (หลักสูตรหลัว) รหัสวิชา วพม.จว. 401
- จัดการการเรียนการสอนรายวิชาจักษุวิทยา นพท./นศพ.วพม. ชั้นปีที่ 3 (เลือกเสรี) รหัสวิชา วพม.จว. 301
- จัดการการเรียนการสอนรายวิชาจักษุวิทยา นพท./นศพ.วพม. ชั้นปีที่ 3 (เลือกเสรี) รหัสวิชา วพม.จว. 601
- ร่วมจัดการเรียนการสอนรายวิชา Problem Based Learning in Medical Profession (PBM) นพท./นศพ.วพม. ชั้นปีที่ 3
- ร่วมจัดการเรียนการสอนกับภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ในรายวิชา Block Emergency Medicine (รายวิชาร่วมสอน) นพท./นศพ.วพม. ชั้นปีที่ 5
- ร่วมจัดการเรียนการสอนในวิชาสังคมพฤติกรรมศาสตร์ เรื่องกฎหมายที่ควรรู้ ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม นพท./นศพ.วพม. ชั้นปีที่ 5
- ร่วมจัดการเรียนการสอนรายวิชาจักษุวิทยา (เลือกเสรี) ให้กับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ต่างสถาบัน จาก คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาจักษุวิทยา
- ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด 2 อนุสาขา (อนุสาขาจักษุวิทยากระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตา อนุสาขาจักษุวิทยาต้อหิน)
ภารกิจด้านการตรวจรักษา
บริการตรวจรักษาโรคตาทั่วไป และรับปรึกษาโรคเฉพาะทั้งตาทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
การพัฒนาหน่วย
ภาควิชาจักษุวิทยา มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการประกันคุณภาพการศึกษารวมถึงงานวิจัย
การเรียนการสอน ภาควิชาฯ มีการพัฒนาจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรของ วพม. และตามเกณฑ์แพทยสภาโดยมีการสอนสอดแทรกจริธรรมขณะขึ้นเรียน
การบริการวิชาการ คณาจารย์ภาควิชาฯ ได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษต่างสถาบัน และเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในงานประ ชุมวิชาการต่างๆ
การประกันคุณภาพด้านการศึกษา คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ทุกคน ร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาควิชาฯ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในเป็นประจำทุกปี
งานวิจัย นโยบายของกอง-ภาควิชา สนับสนุนให้คณาจารย์มีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้นส่งเสริมให้คณาจารย์ได้รับการอบรมเพิ่มเติม เช่น ด้านระบาดวิทยา กระบวนการทำวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ รวมทั้งให้คณาจารย์ได้มีผลงานวิจัยเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และสนับสนุนให้มีงานนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้มาตราฐานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
นวัตกรรม ปี พ.ศ. 2538 พลตรี ศ. (คลินิก) ศุภชัย วงศ์พิเชฐชัย ได้ประดิษฐ์ลูกตาเทียมจากไฮดร๊อกซี่อาพาไท้ ที่ได้จากการเผากระดูกวัว ทำให้ลดต้นทุนจากการซื้อลูกตาเทียมจากไฮดร๊อกซี่อาพาไท้จากประการัง ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และมีราคาแพงอีกทั้งเป็นการลดการทำลายแนวประการังธรรมชาติอีกด้วย ทำให้ผู้ป่วยยากไร้ได้มีโอกาสรับการรักษา ลูกตาตาเทียมที่ได้จากการวิจัยนี้ได้นำมาใช้กับผู้ป่วยในโครงการทุนจัดหาลูกตาเทียมสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ปี 2550 - 2551 โครงารองค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกโรงพยาบาลทหารผ่านศึกปี 2552 - 2554 โครงการสมาคมกีฬาคนพิการในพระบรมราชูปถัมภ์ โครงการถวายพระเกียรติ 80 - 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และยัดำเนินการทำมาโดยตลอด ผลงานนี้ได้รับางวัลวิจัยยอดเยี่ยมจากคณะวิจัยแห่งชาติปี พ.ศ. 2545 และได้รับเหรียญทองบรัสเซล์ยูเรก้า 2001 และรางวัลเหรียญสูงสุดระดับโลก WIPO World Intelligence property organizat ion 2001 ในงานนิทรรศการระหว่างประเทศ ณ ประเทศเบลเยี่ยม
การรับผิดชอบต่อสังคม กอง-ภาควิชา ได้จัดทำโครงการเพื่อให้ประโยชน์ต่อสังคมดังนี้
- ร่วมจัดโครงการป้องกันตาบอดสายตาพิการจากโรคตาและเบาหวานขึ้นตา เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และความเข้าใจในการป้องกันโรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง ลดภาวะเสี่ยงทางสายตา สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตเอง
- โครงการต้อหิน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคต้อหิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนตาบอด
แผนงานอนาคต
- แผนการเปิดอบรมหลักสูตรจักษุวิทยาสาาขาต่อยอด
- เปิดศูนย์เลสิคแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ
- แผนการเพิ่มกำลังพลอาจารย์ตาม subspecialty ที่ขาดแคลนได้แก่
- Pediatrics
- Neuro-ophthalmology